20 พฤษภาคม 2024
Spread the love

วันนี้ 19​ มกราคม 2566 เวลา 13.00 น.นายมุนินทร์ จันทรา เจ้าของโรงสี/ตัวแทนเกษตรกร 470 ครอบครัว ได้เดินทางมายื่นหนังสือขอความช่วยเหลือ​ ที่ทำการพรรพลังท้องถิ่นไทย​ ตรอกข้าวสาร​ ถ.เตชะวนิช แขวงบางซื่อ​ เขตยางซื่อ​ กรุงเทพ ฯ​ โดยมีนายชัชวาลล์​ คงอุดม​ เป็นผู้รับหนังสือ

นายมุนินทร์ จันทรา​ กล่าวว่า​ เมื่อวันที่​ 18​ มกราคม​ 2566​ ได้เดินทางไปที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กรณีความคืบหน้าในการชำระเงินค่าจำนำข้าวดังกล่าวให้ ชาวนา470 ครอบครัว โดยก่อนหน้านี้ได้เดินทางมาแล้วเมื่อวันที่ 9 พ.ย.65​ ตนเป็นเจ้าของโรงสีก้องเกียรติการเกษตรในโครงการรับจำนำข้าวปี48/49ของรัฐบาล จังหวัดพิจิตร สังกัดองค์การคลังสินค้า(อคส.) ในโครงการรับจำนำข้าวเปลือกปีการผลิตพ.ศ.2548/2549 ของโครงการดังกล่าวของรัฐบาลตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๘ แต่ยังไม่ได้รับเงินค่าจำนำข้าวเปลือกหอมมะลิ จำนวน 8424.16 ตัน มูลค่า 58,847,401 บาท​ ซึ่งทางอคส.ไม่ออกใบประทวนสินค้าตามหน้าที่องค์การคลังสินค้าให้จึง เป็นการผิดสัญญากับทางกลุ่มเกษตรกรชาวนา จนถึงเวลานี้รวม 17 ปี ตนเองมีความตั้งใจยื่นหนังสือถึงท่านนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติหรือรัฐบาลผู้บริหารสูงสุดของโครงการรับจำนำข้าวเปลือกของรัฐบาล ให้ชำระค่าจำนำข้าวเปลือกหอมมะลิจำนวน 8424.16 ตัน มูลค่า 48,847,401.24 บาท พร้อมดอกเบี้ย 15 เปอร์เซ็นต์ต่อปีคูณ 17 ปี แต่เรื่องไม่ถึงนายกตามตนร้องแต่กลับส่งเรื่องให้​ อคส.อีกจึงไม่ถูกต้องเพราะตนร้องนายกฯเพราะอคส.ไม่ออกใบประทวนให้ชาวนาแต่กลับส่งเรื่องไปให้อคส.อีก รายละเอียดปรากฏตามหนังสือรับเรื่องราวร้องทุกข์ นร.01650004201 ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2565 สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
โดยนายกรัฐมนตรีหรือรัฐบาลให้ชำระค่าจำนำข้าวเปลือกให้ชาวนา​ 470​ รายที่ไม่ได้รับค่าจำนำข้าวเปลือกจากรัฐบาลโดยใบประทวนสินค้าไปทำสัญญาจำนำและแรกรับเงินจากรัฐบาลที่ธนาคารธ.ก.ส.พื้นที่ จ.พิจิตรตั้งแต่ปีโครงการฯผลิต2548/49ตามหน้าที่(อคส.) ถือว่าเป็นเรื่องโครงการดังกล่าวของรัฐบาลหรือรัฐบาลผิดสัญญาต่อเกษตรกรชาวนาดังกล่าวผ่านมาถึง​ 17​ ปีเศษแล้ว​ และเป็นเรื่องที่รัฐบาลจะต้องชำระดอกเบี้ยคูณ17ปีเศษนั้นให้เกษตรกรตามกฏหมายและตามหน้าที่ของรัฐบาลด้วยส่วนข้อพิพาทระหว่างฝ่ายโรงสีก้องเกียรติกับฝ่าย(อคส.)ก็ให้เป็นเรื่องทั้งสองฝ่ายไปฟ้องร้องกันต่างหากและศาล​ จ.พิจิตรและศาลอุทธรภาค6ก็พิพากษาว่าฝ่ายโรงสีก้องเกียรติฯไม่ได้ฉ้อโกงประชาชนชาวนาและไม่มีหน้าที่ชำระค่าจำนำข้าวชาวนาแต่เป็นหน้าที่อคส.ออกใบประทวนข้าวเปลือกให้ชาวนาดังกล่าวไปรับเงินค่าจำนำข้าวรัฐบาลที่ธนาคารธ.ก.ส.เพราะเกิดเป็นสัญญากับชาวนาจำนำข้าวกับโครงการฯรัฐแล้วนั่นเอง กรณีค่าจำนำข้าว ปี 2548/49 กว่า 8.000 ตัน มูลค่ากว่า 58 ล้านบาท

ต่อมาเมื่อวันที่ 10 พ.ย 65 ตนเองได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ของศูนย์รับเรื่องราวผู้ร้องทุกข์ของรัฐบาล สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าได้ส่งหนังสือเรื่องราวร้องทุกข์ดังกล่าว ไปที่องค์การคลังสินค้า(อคส.) แต่ไม่ส่งถึง พณฯท่านนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ตามเจตนาที่ตนได้ร้องทุกข์นั้น จึงเห็นว่าเป็นการไม่ถูกต้อง และไม่ถูกต้องเป็นอย่างยิ่ง ในเมื่อองค์การคลังสินค้านั้นไม่ออกใบประทวนสินค้าข้าวเปลือกหอมมะลิ ให้เกษตรกร 470 รายนำไปทำสัญญาจำนำและแลกรับเงินจำนวนดังกล่าวจากรัฐบาลที่ ธนาคาร ธ.ก.ส. ในเขตพื้นที่จังหวัดพิจิตรตามหน้าที่องค์การคลังสินค้าหรือฝ่ายรัฐบาลนั้น ตนเองจึงได้นำหลักฐานเรื่องราวมาร้องทุกข์ต่อศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล ถึงนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติหรือรัฐบาลผู้บริหารสูงสุดของการรับจำนำข้าวเปลือก ของรัฐบาลให้ชำระค่าจำนำข้าวให้เกษตรกร 470 ครอบครัวตามความละเอียดตามหน้าที่ของรัฐบาลอีกครั้งโดยด่วนต่อไป

นายชัชวาลล์ คงอุดม กล่าวว่า ได้รับเรื่องร้องเรียนจากกลุ่มเกษตรกรชาวนาเมื่อกลางปี 2565 ว่าไม่ได้รับเงินจำนำข้าว จนปัจจุบันนี้กว่า 10 ปีแล้ว ซึ่งทางรัฐบาลมีงบประมาณ โดยชาวบ้านไม่ได้รับความเป็นธรรมจึงได้ให้ความช่วยเหลือ การดำเนินการตอนนี้ตัวแทนเกษตรกรได้ทำหนังสือร้องเรียนไปที่ศูนย์รับเรื่องราวผู้ร้องทุกข์ของรัฐบาล ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 โดยครั้งแรกทาง ศูนย์รับเรื่องราวผู้ร้องทุกข์ของรัฐบาล ได้ส่งเรื่องไปที่ องค์การคลังสินค้า (อคส.) ในเมื่อหน่วยงานนี้ไม่ออกใบประทวนให้ส่งเรื่องไปทุกอย่างก็เงียบเหมือนเดิม ครั้งนี้ตนจะดำเนินการนำเรื่องนี้เรียนท่านนายกรํฐมนตรี เพื่อให้เร่งช่วยเหลือเกษตรกร กว่า 470 ครอบครัว เพราะเขาได้รับความเดือดร้อนมาหลายปีแล้ว ชาวนาส่งผลผลิตเข้าโครงการจำนำข้าวของรัฐบาลแต่ไม่ได้เงิน เราต้องรีบให้ความช่วยเหลือเขาจนถึงที่สุด นาย ชัชวาลล์ ฯ กล่าวทิ้งท้าย

ภาพ/ข่าว โย​ ประเด็นรัฐ​

About Author